วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมา โครงการปิดเทอมเติมความรู้ (อบรมคอมพิวเตอร์ให้ครูทกปิดภาคเรียน)

โครงการปิดเทอมเติมความรู้



                     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต หน่วยงานทางการศึกษามีสังกัดโดยประมาณ  210  แห่ง  และเป็นโรงเรียนขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่  มีบุคลากร จำนวน  2,100  คน โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียน ใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โรงเรียนได้รับจัดสรรคอมพิวเตอร์  และขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตให้กับโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศ   สามารถนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ทั้งการบริหารและการจัดการเรียนการสอน   เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สามารถกำหนดบทบาททั้งเป็นผู้สอนและผู้ช่วยสอน  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.  2551 ได้กำหนดให้นักเรียนเรียนรู้เทคโนโลยีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กำหนดให้ครูต้องมีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนกาสอน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็น กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตาม หลักสูตรและส่งเสริม ความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน
                 จากการศึกษาสภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและเพื่อการเรียนการสอน พบว่า  โรงเรียนได้รับการจัดสรรอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พร้อมสำหรับการทำงานแล้วก็ตามแต่บุคลากรยังสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากครูมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนยังมีน้อย
                 เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว นักเรียนกระหายที่จะเรียนรู้  การทำงานต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครูจำเป็นที่จะต้องการพัฒนาตนเองให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่อย่างสม่ำเสมอ
การฝึกอบรมพบปะกับเพื่อนครู  การใช้งานเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้
กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT  จัดกิจกรรมช่วงปิดภาคเรียนทุกภาคเรียน    ปีละ 2 ครั้ง  ภายใต้ชื่อกิจกรรม  ปิดเทอมเติมความรู้ โดยมีหลักการในการพัฒนาครูในช่วงเวลาปิดภาคเรียน ครูไม่ทิ้งห้องเรียน   มีการลงทะเบียนสบทบอย่างประหยัด   หลักสูตรหลากหลายตามความสนใจ
การพัฒนาครูประจำการที่เป็นมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน    การฝึกอบรมถือว่าเป็นวิธีการดั้งเดิมและเป็นที่นิยมทำกันในปัจจุบัน  ทั้งการประชุมสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในแต่ละปีงบประมาณ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็พยายามเสนอโครงการเพื่อของบประมาณจัดอบรมครูท่ามกลางคำถามมากมาย และในช่วงก่อนสิ้นปีงบประมาณ  ก่อนสิ้นเดือน ตุลาคม ของทุกปีโครงการต่างๆ ก็จะหลังไหลออกมา ครูก็จะได้รับการเสนอชื่อให้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ มากมายจนต้องละทิ้งชั้นเรียน เกิดการส่งผู้เข้ารับการอบรมแทนกัน  ผู้เข้ารับการอบรมไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย   ท่ามกลางคำถามมากมาย  เช่น

-           ครูที่เข้ารับการอบรมมีความสนใจจริงๆ  หรือเปล่า
-           เนื้อหาในการอบรมอยู่ในความสนใจของผู้เข้ารับการอบรมหรือเปล่า
-           ครูต้องละทิ้งชิ้นเรียนทำให้ผลการเรียนตกต่ำ
-           ครูละทิ้งห้องเรียน โรงเรียน ปล่อยให้เพื่อนครูรับภาระแทน
-           งบประมาณที่ใช้ไปคลุ้มค่าหรือไม่
-           ถ้าไม่มีงบประมาณจะดำเนินการได้หรือไม่
-           คุ้มหรือไม่กับการละทิ้งห้องเรียน
-           ความรู้ที่ได้อบรม  มานำมาใช้เพื่อการศึกษา
-           ผู้เข้ารับการอบรม มีสิทธิเลือกหรือไม่
-           มีวิธีการฝึกอบรม  แบบไหนดี  ประหยัด
                 ผู้เขียนมีประสบการณ์เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  มา 9 ปี  ได้คิดรูปแบบการพัฒนาบุคลากร ด้าน ICT      โดยนำเอาคำถามในใจด้านบนมาเป็นตัวตั้ง ระหว่างที่นักเรียนปิดเรียนครูมาพัฒนาความรู้ด้าน ICT ตามความสนใจดีมั้ย   ยึดหลัก

(1) ไม่แย่งครูออกจากนักเรียน (2) ไม่บังคับครูเข้าอบรม   (3) ไม่ต้องรองบประมาณ


เทอดชัย  บัวผาย  (ศึกษานิเทศก์  ชำนาญการพิเศษ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น